ความหมายของเห็ด
เห็ดเป็นราชนิดหนึ่งซึ่งไม่จัดเป็นพืชหรือสัตว์ ไม่มีสารสีเขียว(chlorophyll) เหมือนพืช จึงไม่สามารถปรุงอาหารกินเองได้ ไม่มีระบบประสาทหรืออวัยวะและไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เช่นสัตว์ การเจริญเติบโตของเห็ดมีลักษณะเป็นเส้นใยรวมกัน
ความสำคัญของเห็ด
มนุษย์ทั่วโลกรู้จักเห็ดมานานที่สายพันธุ์ของเห็ด มากกว่า 30,000 สายพันธุ์ แต่มีถึงร้อยละ 99 สายพันธุ์ที่บริโภคได้ที่เหลือร้อยละ 1 เป็นเห็ดพิษหรือเห็ดเมาในอดีตเห็ดที่นำบริโภคนั้นมีเพียงไม่กี่ชนิด เช่น เห็ดฝรั่ง เห็ดหอม เห็ดโคน และเห็ดฟาง
ในปัจจุบันพบว่าหลายๆประเทศหันมาให้ความสนใจและร่วมมือกันในการวิจัยและค้นคว้า ทดลอง คัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์เห็ด ให้มีจำนวนมากขึ้น และพัฒนาเทคนิควิธีการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค
ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะต่อการเพาะเห็ดอย่างมาก เพราะมีวัสดุเหลือใช้จากพืชเศรษฐกิจสามารถนำมาดัดแปลงเพาะเห็ดได้เป็นอย่างดีประกอบกับมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดเกือบทุกชนิด ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเพาะเห็ดกันอย่างจริงจังแล้ว จะช่วยเพิ่มอาหารที่มีคุณค่าและทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ของเห็ด
1. คุณค่าทางอาหารของเห็ด จากการค้นคว้าเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารของเห็ด โดยกรมวิทยาศาสตร์พบว่า เห็ดที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เช่น เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดนางฟ้า เมื่อนำมาวิเคราะห์พบว่าประกอบด้วยสารอาหาร พวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุต่างๆ และวิตามิน ที่แตกต่างกัน จากชนิดสารอาหารที่ พบในเห็ดดังกล่าว ย่อมพิสูจน์ได้ว่าเห็ดเป็นอาหารที่มีคุณค่าเทียบเท่าเนื้อสัตว์จริง
2. สรรพคุณทางยา ของเห็ด ในการบริโภคอาหารควรเลือกบริโภคพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารทดแทนเนื้อสัตว์บ้าง โดยเฉพาะพืชที่ประเภทเห็ดจะไม่มีสารคอเรสตอรอลที่เป็นอันตรายต่อระบบไหลเวียนโลหิตประกอบกับเห็ดมีปริมาณธาตุโซเดียมค่อนข้างต่ำ จึงจัดเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ โรคไตโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง
ส่วนประกอบต่างๆของดอกเห็ด
![]() |
ส่วนประกอบของเห็ด |
1. หมวกเห็ด ส่วนปลายสุดของดอกเจริญขึ้นไปในอากาศ
2. ครีบ อยู่ด้านล่างของหมวกเห็ด
3. ก้านดอก มีขนาดใหญ่และยาวแตกต่างกัน
4. วงแหวน เป็นเยื่อบางๆยึดก้านดอกและขอบหมวกของเห็ด
5. เปลือกหุ้มโคน อาจมีเนื้อหนาหรือบางอยู่ชั้นนอกสุดที่หุ้มดอกเห็ดไว้
6. สปอร์ เกิดจากการผสมพันธุ์ทางเพศ แล้วแบ่งตัวกลายเป็นสปอร์ปลิวหรือลอยไปในอากาศ
การจำแนกประเภทของเห็ด
เห็ดสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มเห็ดที่ใช้เป็นอาหาร เป็นเห็ดที่มีคุณค่า และมีส่วนประกอบของ สารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีนและวิตามิน ได้แก่ เห็ดฟาง , เห็ดนางฟ้า , เห็ดหูหนู เป็นต้น
2. กลุ่มเห็ดที่ใช้เป็นยาสมุนไพร เพราะเชื่อว่ามีสารที่เป็นสรรพคุณทางยา ได้แก่
เห็ดหลินจือ (เห็ดพันปี)รับประทานแล้วจะเป็นยาบำรุงกำลังทำให้สุขภาพแข็งแรง
เห็ดหอม รับประทานแล้วจะช่วยบำบัดโรคบางชนิดได้ เช่น ต้านโรคมะเร็ง , ต้านไวรัส ช่วยลดความดันโลหิตและลดโคเรสเตอรอล เป็นต้น
3. กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษ เห็ดกลุ่มนี้ถ้าบริโภคเข้าไปจะมีพิษ ถ้าบริโภคมากอาจถึงตาย เพราะพิษจะเข้าไปในระบบเลือด กระจายไปทั่วร่างกายมึนเมาอาเจียน เช่น เห็ดระโงกหิน
เห็ดที่นิยมบริโภค
1.เห็ดหอม
1. กลุ่มเห็ดที่ใช้เป็นอาหาร เป็นเห็ดที่มีคุณค่า และมีส่วนประกอบของ สารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีนและวิตามิน ได้แก่ เห็ดฟาง , เห็ดนางฟ้า , เห็ดหูหนู เป็นต้น
2. กลุ่มเห็ดที่ใช้เป็นยาสมุนไพร เพราะเชื่อว่ามีสารที่เป็นสรรพคุณทางยา ได้แก่
เห็ดหลินจือ (เห็ดพันปี)รับประทานแล้วจะเป็นยาบำรุงกำลังทำให้สุขภาพแข็งแรง
เห็ดหอม รับประทานแล้วจะช่วยบำบัดโรคบางชนิดได้ เช่น ต้านโรคมะเร็ง , ต้านไวรัส ช่วยลดความดันโลหิตและลดโคเรสเตอรอล เป็นต้น
3. กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษ เห็ดกลุ่มนี้ถ้าบริโภคเข้าไปจะมีพิษ ถ้าบริโภคมากอาจถึงตาย เพราะพิษจะเข้าไปในระบบเลือด กระจายไปทั่วร่างกายมึนเมาอาเจียน เช่น เห็ดระโงกหิน
เห็ดที่นิยมบริโภค
![]() |
เห็ดหอม |
เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง พอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูงช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”
![]() |
เห็ดหูหนู |
เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไต
3.เห็ดหลินจือ
![]() |
เห็ดหลินจือ |
มีสารสำคัญ เบต้ากลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูงปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย รวมทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส
4.เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง
![]() |
เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง |
รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด โดยสารบางอย่างในเห็ดนี้ไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้ หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
5.เห็ดนางรม นางฟ้า เป่าฮื้อ
![]() |
เห็ดนางรม |
![]() |
เห็ดนางฟ้า |
![]() |
เห็ดเป่าฮื้อ |
เห็ดสามอย่างนี้อยู่ตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อๆ คล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำและเนื้อเหนียวหนาและนุ่มอร่อยคล้ายเนื้อสัตว์ มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือด และ โรคกระเพาะได้
6.เห็ดฟาง
![]() |
เห็ดฟาง |
เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
7.เห็ดเข็มทอง
![]() |
เห็ดเข็มทอง |
เป็นเห็ดสีขาว หัวเล็กๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบสุกี้ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
8.เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก
![]() |
เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก |
เป็นเห็ดสีขาว หัวเล็กๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบสุกี้ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
9.เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ
![]() |
เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ |
นิยมกัน คือ แกงเผ็ด เวลาเคี้ยวแล้วให้ความรู้สึกกรอบ มัน เพราะเห็ดเผาะกรอบ ข้างในกลวง เวลาเคี้ยวแล้วดังเผาะทุกๆครั้ง นิยมกินเห็ดระยะที่อ่อนอยู่ โดยนำไปแกงคั่ว และผัด หรือกินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก รักษาบาดแผล ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้ช้ำใน
ขอบคุณที่มา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเห็ด
ขอบคุณที่มา : Top 10 เห็ดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย
10.เห็ดขอนขาวหรือเห็ดมะม่วง
เห็ดขอนมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ไขพิษ ช่วยระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น สำหรับเห็ดกระด้างสดหรือแบบแห้ง สามารถนำมาต้มกับน้ำจนเดือดให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงานหรือไม่แข็งแรงเนื่องจากเพิ่งฟื้นจากไข้ สมรรถภาพทางเพศไม่ค่อยจะดี รับประทานทั้งน้ำและเนื้อเห็ดเป็นประจำจะทำให้ร่างกายแข็งแรง จากงานวิจัย พบว่า “แคปซูล” จากสารสกัดเห็ดกระด้าง สามารถลดไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ติดเชื้อ HIV ได้ผลดี จะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวต่อไปได้อีก สำหรับราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่นๆ จึงได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า กด Like เพื่อติดตามบทความ บน Facebook แฟนเพจ
ขอบคุณที่มา : Top 10 เห็ดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น